Monthly Archives: February 2022

เรียนรู้วิธีจัดการคลังสินค้าอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

เรียนรู้วิธีจัดการคลังสินค้า

เรียนรู้วิธีจัดการคลังสินค้าอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันนั้นมีการแข่งขันกันสูง ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนใหญ่พยายามนำสินค้าของตนให้ได้ครองส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจมียอดขายและกำไรมากที่สุด ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจควรต้องศึกษาและพัฒนาสินค้า ก่อนที่ธุรกิจจะผลิตสินค้าชนิดใหม่ออกสู่ตลาด เพื่อให้สินค้าที่ผลิตนั้นสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันได้ ดังนั้นการจัดการคลังสินค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ บทความนี้จะแนะวิธีที่จะจัดการคลังสินค้าให้ประสบความสำเร็จ ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้ด้วยกันเลย วิธีจัดการให้คลังสินค้าประสบความสำเร็จ ขั้นตอนในการจัดการคลังสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะทำให้ระบบจัดการภายในคลังสินค้าสามารถดำเนินไปได้อย่างไม่สะดุด ซึ่งเรามีวิธีจัดการดังนี้ จัดพื้นที่ให้เป็นระเบียบ เริ่มแรกเราควรเริ่มจากการออกแบบแผนผังภายในคลังสินค้า โดยที่คุณจะต้องสร้างพื้นที่ที่มีความสมดุลกันระหว่าง การจัดหาพื้นที่ที่เพียงพอต่อการสต๊อกสินค้า กับ พื้นที่ที่กว้างพอที่พนักงานจะเคลื่อนย้ายสินค้าได้สะดวก ซึ่งสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น โซนรับสินค้าเข้ามาใหม่ โซนเปิดสินค้าและจัดวางสินค้าใหม่ สำนักงานส่วนกลางภายในคลังสินค้า พื้นที่จัดเก็บสินค้าส่วนเกินหรือสินค้าที่หมดอายุไปแล้ว โซนแพคสินค้า รวมถึงโซนสำหรับการเคลื่อนย้ายเพื่อขนส่ง ติดป้ายกำกับสินค้า การจัดการคลังสินค้าจะเป็นไปได้ง่ายขึ้น เมื่อมีการติดป้ายกำกับสินค้าเพื่อแยกประเภทสินค้าต่าง ๆ อย่างชัดเจน การติดป้ายจะทำให้พักงานสามารถจดจำตำแหน่งการเก็บสต๊อกสินค้าและค้นหาสินค้าได้ง่ายขึ้น การจัดเรียงสินค้า เมื่อเราจัดการกับป้ายกำกับสินค้าเพื่อให้ง่ายต่อการรู้ตำแหน่งการจัดวางสินค้า ขั้นตอนต่อไปเราต้องมาจัดเรียงสินค้าให้เป็นระเบียบมากขึ้น พอถึงขั้นตอนนี้หลายคนอาจจะกำลังมีคำถามขึ้นมาในหัวว่าเราควรจะจัดเรียงสินค้าอย่างไรดี คำตอบก็คือจัดเรียงสินค้าที่ขายดีที่สุด ไว้ในโซนแพคสินค้า นั่นเป็นเพราะคุณสามารถลดเวลาการเดินของพนักงานในการหยิบสินค้าในคลังได้มากขึ้น ดังนั้นคุณต้องดูให้แน่ใจว่าสินค้าชิ้นไหนที่สามารถหยิบมาวางในโซนเดียวกันได้บ้าง หมั่นจัดเรียงสินค้าใหม่ หลายคนกลัวที่จะต้องคอยจัดเรียงสินค้าใหม่เพราะคิดว่าเสียเวลา แต่นั่นเป็นความคิดที่ไม่ดีนักค่ะ แต่ต้องบอกเลยว่าคลังสินค้าที่ถูกจัดเรียงอย่างเหมาะสมและเป็นระเบียบ จะช่วยคุณประหยัดเวลาในภาพรวมและยังช่วยลดต้นทุนอย่างมากในการจัดการระบภายในคลังสินค้าทั้งหมด อุปกรณ์เครื่องมือในคลังสินค้าต้องมีคุณภาพ อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ไม่มีคุณภาพ จะนำมาซึ่งในเรื่องของความปลอดภัย ค่าใช้จ่าย และเวลา ซึ่งอุปกรณ์ที่คุณควรมีหลัก ๆ ในคลังสินค้า ได้แก่ […]

ปัญหาของการสร้างคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องรู้

ปัญหาของการสร้างคลังสินค้า

ปัญหาของการสร้างคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องรู้ คลังสินค้าเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญของระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของแต่ละองค์กร โดยทั่วไปคลังสินค้าทำหน้าที่เป็นสถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง ซึ่งจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ซึ่งการจัดระเบียบและการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าจะมีประโยชน์ต่อการทำให้สินค้าเหล่านั้นพร้อมที่จะน าไปเข้าสู่กระบวนการผลิต หรือเพื่อจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าได้สะดวกรวดเร็ว ทำให้ช่วยลดระยะเวลา แรงงาน อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถด าเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าปัญหาของการสร้างคลังสินค้า ผู้ประกอบการจะต้องเรียนรู้ให้มากเช่นกัน ปัญหาการสร้างคลังสินค้าที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ การเลือกทำเลที่ตั้งผิด การเลือกทำเลที่ตั้งในการสร้างคลังสินค้า หากเลือกผิด แน่นอนว่าคุณจะต้องเสียทั้งเงินและเวลาในการรื้อถอนใหม่ แต่ดันใช้ไม่ได้จริง ซึ่งหลายครั้งผู้ประกอบการบางรายต้องการลดต้นทุน จึงเลือกที่จะใช้ทำเลที่อยู่ไกลจากตลาดหรือแหล่งวัตถุดิบ ทำให้หลายครั้งการส่งสินค้าอาจจะขาดตอน คุณต้องอย่าลืมว่าความต้องการในวัตถุดิบนั้นมีมาเรื่อย ๆ ความร้อนภายในคลังสินค้า ประเทศไทยเป็นเรื่องร้อน ดังนั้นเรื่องความร้อนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญทั้งต่อตัวสินค้าและพนักงานที่ทำงานในคลังสินค้า ชนวนกันความร้อนที่ไม่มีคุณภาพ ใช้งานไม่ได้จริง ถ้าอุณหภูมิภายในคลังสินค้าไม่เหมาะสม ย่อมส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าอย่างแน่นอน เพราะความร้อนในสะสมช่วงกลางวัน จะส่งผ่านเข้าสู่โครงสร้าง ดังนั้นตอนมุงหลังคาจึงควรใส่ฉนวนกันร้อนไปพร้อมกันเลย ช่างที่มาก่อสร้างขาดความชำนาญเฉพาะด้าน การเลือกผู้เชี่ยวชาญ จ้างผู้เชี่ยวชาญรายเดียวในการออกแบบ ก่อสร้าง และงานระบบทั้งหมด เพื่อให้คลังสินค้ามีโครงสร้างการใช้งานที่สอดคล้องกัน พื้นที่ของคลังสินค้าไม่แข็งแรงมากพอ หากคลังสินค้าไหนที่ตอนสร้างใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน จะส่งผลต่อการนำสินค้ามาสต๊อกเอาไว้ เพราะแน่นอนว่าพื้นคลังสินค้ามีสิทธิชำรุด เสียหายได้ การลงทุนสำหรับงานพื้นของคลังสินค้า ควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะจะช่วยลดอุบัติเหตุจากการทำงานได้ พื้นที่ดีต้องสามารถรับกำลังความแข็งแรงได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และทนต่อสภาพดิน ฟ้า […]

เรียนรู้กรณีศึกษาธุรกิจคลังสินค้า

ธุรกิจคลังสินค้า

เรียนรู้กรณีศึกษาธุรกิจคลังสินค้า ปัจจุบันธุรกิจคลังสินค้ามีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนาดใหญ่ ทั้งทางถนน รถไฟ ท่าเรือและสนามบินในหลายพื้นที่ รวมทั้งการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ จึงทำให้คลังสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคลังสินค้าเหล่านี้จะมาพร้อมเทคโนโลยีระบบจัดการโลจิสติกส์ที่ทันสมัย จึงทำให้เห็นการพัฒนาคลังสินค้าที่ไม่ต้องใช้พื้นขนาดใหญ่แต่เน้นระบบการบริหารจัดการที่สะดวกรวดเร็ว เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ E-Commerce สถานการณ์ในปีที่ผ่านมา ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจคลังสินค้ายังต้องเผชิญกับกับการแข่งขันที่สูง แต่พบว่ารายได้จากค่าเช่าและบริการของผู้ประกอบการรายใหญ่ยังเติบโตได้ดี เป็นผลมาจากการพัฒนาคลังสินค้าให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการของลูกค้า พร้อมกับเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัยแบบครบวงจร รูปแบบคลังสินค้าในปัจจุบัน คลังสินค้าพรีเมี่ยม เป็นคลังสินค้าที่มีระบบจัดการสินค้าพร้อมระบบจัดการโลจิสติกส์ที่ทันสมัย คลังสินค้าแบบ built-to-suit เป็นการสร้างคลังสินค้าที่เน้นรูปแบบตามความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะ คลังสินค้าห้องเย็นควบคุมอุณหภูมิ (ตลาดยังมีความต้องการอีกเป็นจำนวนมาก) Green Warehouse เป็นคลังสินค้าที่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น คลังสินค้าขนาดเล็กที่ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก แต่เน้นระบบการบริหารจัดการที่สามารถรับและกระจายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจ E-Commerce กรณีศึกษาธุรกิจคลังสินค้า บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในปีที่ผ่านมามีการพัฒนาคลังสินค้าให้มีความทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ซึ่งใช้กลยุทธ์ความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งคลังสินค้าและนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทที่อยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อพัฒนาคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าในรูปแบบทันสมัย พร้อมด้วยระบบจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีมูลค่าสูง อีกทั้งยังมีการเพิ่มมบริการให้เช่าคลังสินค้าเอกสารและศูนย์ข้อมูล (data center) และขยายธุรกิจคลังสินค้าไปยังประเทศเวียดนามและอินโดนีเซีย สรุปปัจจัยเสี่ยงต่อธุรกิจคลังสินค้า ภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ด้วยภาวะเศรษฐกิจทำให้ผู้ประกอบการยังขาดความเชื่อมั่นในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งส่งผลทำให้ความต้องการใช้คลังสินค้าขยายตัวได้ไม่มาก อุปทานคลังสินค้าส่วนเกินในตลาดยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก อุปทานที่เป็นส่วนเกินส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะด้านราคา ทำให้การปรับขึ้นค่าเช่าคลังสินค้าทำได้ยากหรืออาจปรับตัวลงได้ในบางพื้นที่ ราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น […]

คลังสินค้าคืออะไร สำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

คลังสินค้าคืออะไร สำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

คลังสินค้าคืออะไร สำคัญอย่างไรกับธุรกิจ ใครที่ทำธุรกิจ เมื่อธุรกิจเติบโตมากขึ้น ก็ถึงเวลาที่ต้องขยับขยายขนาดของธุรกิจ รวมไปถึงระบบการจัดการสินค้า หนึ่งในฟังก์ชั่นที่หลายธุรกิจมีคือ “คลังสินค้า” แต่ในขณะที่ธุรกิจเรายังคงมีขนาดเล็กอยู่ เราอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าคลังสินค้าคืออะไร สำคัญกับธุรกิจของเรามากน้อยแค่ไหน เราจะพาไปเรียนรู้เรื่องนี้กัน คลังสินค้าคืออะไร คลังสินค้า (Warehouse) หรือโกดัง คือสถานที่จัดเก็บสินค้าให้เป็นระเบียบ พร้อมที่จะกระจายสินค้าออกไปยังกลุ่มลูกค้า บุคคล หรือองค์กร ซึ่งในคลังสินค้าแต่ละแห่งอาจจะมีฟังก์ชั่นและ Process ที่แตกต่างกันออกไปบางแห่งอาจจะมีการรับสินค้าเข้ามาแล้ว ก็เก็บสินค้าไว้และทำหน้าที่จัดสรรสินค้าก่อนส่งมอบตามคำสั่งซื้อ จึงมีขั้นตอนย่อยประกอบด้วย รับสินค้าเข้า จัดเก็บ จัดสินค้าตามใบสั่งซื้อ บางแห่งอาจจะมีการเพิ่มขั้นตอนไปเป็น ตรวจสอบ หีบห่อ และจัดส่ง ซึ่งในบางคลังสินค้ามีหน้าที่หลักเพื่อรับมาเก็บแล้วกระจายสินค้าต่อไป หรือที่เราเรียกว่าศูนย์กระจายสินค้า หน้าที่ของคลังสินค้า หลัก ๆ แล้ว หน้าที่ของคลังสินค้าจะเป็นเรื่องของการอำนวยความสะดวกให้กับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า เพื่อที่จะส่งมอบสินค้าไปยังลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งหน้าที่คลังสินค้ายังมีอีกมากมาย ดังนี้ เมื่อรับสินค้าเข้ามายังคลังสินค้าแล้ว จะต้องมีการตรวจนับจำนวน และนำไปจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการส่งมอบ ซึ่งเมื่อสินค้าอยู่ในคลังสินค้าก็ถือว่าความรับผิดชอบจะตกเป็นของคลังสินค้าโดยสมบูรณ์ จนกว่าสินค้าจะถูกกระจายออกไป เนื่องจากคลังสินค้ามีไว้จัดเก็บสินค้า หน้าที่หลักจึงต้องจัดเก็บสินค้าด้วยระบบการจัดการและบริหารจะด้วยเครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ระบบภายในทำงานได้โดยสะดวก การคัดแยกสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ พร้อมการแพคสินค้า […]