เรียนรู้กรณีศึกษาธุรกิจคลังสินค้า
ปัจจุบันธุรกิจคลังสินค้ามีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนาดใหญ่ ทั้งทางถนน รถไฟ ท่าเรือและสนามบินในหลายพื้นที่ รวมทั้งการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ จึงทำให้คลังสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคลังสินค้าเหล่านี้จะมาพร้อมเทคโนโลยีระบบจัดการโลจิสติกส์ที่ทันสมัย จึงทำให้เห็นการพัฒนาคลังสินค้าที่ไม่ต้องใช้พื้นขนาดใหญ่แต่เน้นระบบการบริหารจัดการที่สะดวกรวดเร็ว เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ E-Commerce
สถานการณ์ในปีที่ผ่านมา
ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจคลังสินค้ายังต้องเผชิญกับกับการแข่งขันที่สูง แต่พบว่ารายได้จากค่าเช่าและบริการของผู้ประกอบการรายใหญ่ยังเติบโตได้ดี เป็นผลมาจากการพัฒนาคลังสินค้าให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการของลูกค้า พร้อมกับเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัยแบบครบวงจร
รูปแบบคลังสินค้าในปัจจุบัน
- คลังสินค้าพรีเมี่ยม เป็นคลังสินค้าที่มีระบบจัดการสินค้าพร้อมระบบจัดการโลจิสติกส์ที่ทันสมัย
- คลังสินค้าแบบ built-to-suit เป็นการสร้างคลังสินค้าที่เน้นรูปแบบตามความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะ
- คลังสินค้าห้องเย็นควบคุมอุณหภูมิ (ตลาดยังมีความต้องการอีกเป็นจำนวนมาก)
- Green Warehouse เป็นคลังสินค้าที่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น
- คลังสินค้าขนาดเล็กที่ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก แต่เน้นระบบการบริหารจัดการที่สามารถรับและกระจายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจ E-Commerce
กรณีศึกษาธุรกิจคลังสินค้า
บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในปีที่ผ่านมามีการพัฒนาคลังสินค้าให้มีความทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ซึ่งใช้กลยุทธ์ความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งคลังสินค้าและนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทที่อยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อพัฒนาคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าในรูปแบบทันสมัย พร้อมด้วยระบบจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีมูลค่าสูง อีกทั้งยังมีการเพิ่มมบริการให้เช่าคลังสินค้าเอกสารและศูนย์ข้อมูล (data center) และขยายธุรกิจคลังสินค้าไปยังประเทศเวียดนามและอินโดนีเซีย
สรุปปัจจัยเสี่ยงต่อธุรกิจคลังสินค้า
- ภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่
ด้วยภาวะเศรษฐกิจทำให้ผู้ประกอบการยังขาดความเชื่อมั่นในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งส่งผลทำให้ความต้องการใช้คลังสินค้าขยายตัวได้ไม่มาก
- อุปทานคลังสินค้าส่วนเกินในตลาดยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก
อุปทานที่เป็นส่วนเกินส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะด้านราคา ทำให้การปรับขึ้นค่าเช่าคลังสินค้า
ทำได้ยากหรืออาจปรับตัวลงได้ในบางพื้นที่
- ราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างที่เรารู้กันดีว่าราคาที่ดินแต่ละปีมีแต่จะปรับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การพัฒนาคลังสินค้าใหม่ ๆ ของภาคเอกชนทำได้ยากขึ้นด้วย
- การเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนที่เน้นเป็นรายพื้นที่
สำหรับปัจจัยข้อนี้ อาจทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตในอุตสาหกรรมสำคัญขนาดใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลให้อุปสงค์คลังสินค้าในพื้นที่เดิมลดลง
- ผู้ประกอบการสร้างคลังสินค้าขนาดกลางและเล็กของไทยมีศักยภาพในการแข่งขันที่ต่ำ
เนื่องจากส่วนใหญ่ยังเป็นคลังสินค้าดั้งเดิมในพื้นที่ ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งรูปแบบคลังสินค้า เทคโนโลยี ระบบการบริหารจัดการและปัญหา ด้านเงินทุนสำหรับพัฒนาเพื่อการแข่งขัน จึงส่งผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจในระยะยาว
สิ่งสำคัญของการจัดการปัญหาของธุรกิจคลังสินค้า อยู่ที่ผู้ปรกอบการจะต้องตามโลกให้ทัน พยายามปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนให้ดี อีกทั้งควรหาวิธีการคำนวณต้นทุนขายแบบถัวเฉลี่ยน้ำหนัก ในกาคำนวณต้นทุนเพื่อให้ทราบถึงต้นทุน และกำไรของกิจการได้มากขึ้น นอกจากนี้ จะต้องเน้นพัฒนาคลังสินค้าตามความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด โดยจะต้องยืนอยู่บนมาตรฐานระดับสากล พร้อมให้บริการระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย เพื่อการดำเนินการอย่างสะดวกรวดเร็วไม่มีสะดุดนั่นเอง
บริษัท สตีล เฟรม บิลดิ้ง จำกัด
รับสร้างโกดังโรงงาน อาคารเหล็กสำเร็จรูป เราคือผู้เชี่ยวชาญโครงสร้างเหล็กระบบ PEB ( Pre -Engineered Building) ให้บริการในรูปแบบงาน Turnkey บริการครบวงจรตั้งแต่ ออกแบบ ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ตั้งแต่งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรมรวมถึงงานระบบ ควบคุมงานก่อสร้างตั้งแต่งานฐานราก งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม รวมถึงงานระบบMEP ครบจบที่เดียว
ระบบ PEB ออกแบบให้เพิ่มพื้นที่ใช้สอย และช่วยลดระยะเวลาก่อสร้างได้
นัดสำรวจพื้นที่ วางเลย์เอาท์ ทำแบบร่าง จัดทำงบประมาณ ขอข้อมูลเพิ่ม ติดต่อบริษัท สตีล เฟรม บิลดิ้ง จำกัด
โทร. 098-267-6334
เวปไซต์ www.steelframebuilt.com
อีเมลล์ sale@steelframebuilt.com