ขั้นตอนการสร้างโรงงานผลิตอาหาร ให้ได้มาตรฐาน

ขั้นตอนการสร้างโรงงานผลิตอาหาร

เมื่อธุรกิจเติบโต ต้องศึกษา ขั้นตอนการสร้างโรงงานผลิตอาหาร ให้ได้มาตรฐาน

เมื่อธุรกิจดำเนินการมาสักพักและเติบโต แน่นอนเจ้าของธุรกิจหลายคนเริ่มต้องการขยับขยายด้วยการทำโรงงาน เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมาตรฐาน ฉะนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นมีโรงงานเป็นของตัวเอง ควรศึกษาในเรื่องขั้นตอนการสร้างโรงงานผลิตอาหาร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการทำงานและทางด้านกฎหมาย ต้องบอกก่อนเลยว่าการสร้างโรงงานเองย่อมมีรายละเอียดเยอะ จึงทำให้หลายคนที่พึ่งเริ่มทำกิจการเลือกเช่าก่อน อย่างไรต้องลองศึกษาดูก่อนแล้วค่อยตัดสินใจว่าท้ายที่สุดจะตัดสินใจอย่างไรดี

เพื่อให้โรงงานตรงตามมาตรฐานเจ้าของกิจการต้องศึกษาขั้นตอน

ขั้นตอนการสร้างโรงงานที่เรากำลังจะพูดถึงเป็นการใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไปหรือหากเปรียบกับจำนวนคนคือ 50 คนขึ้นไปนั่นเอง ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะมีเครื่องจักรด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่ทั้งหมดต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2562 โดยมีเนื้อหาหลัก ๆ ดังนี้

           1. ขั้นตอนแรกเริ่มยื่นเรื่องต่อเจ้าหน้าที่ให้ตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่ผลิต

               เมื่อเจ้าของกิจการตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการสร้างโรงงานขึ้นและเลือกสถานที่ได้แล้ว จากนั้นจะต้องให้ผู้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบสถานที่ที่ได้เลือกว่าเหมาะแก่การผลิตหรือไม่ พร้อมกับเก็บข้อมูลไปด้วย โดยเอกสารต่าง ๆ ที่แนบไปนั้นจะนำไปยื่น ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 กรณี

กรณีที่ 1 หากอยู่ในพื้น กทม. สามารถยื่นเอกสารทั้งหมดได้ที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเตล็ด (One Stop Service Center) ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

กรณีที่ 2 หากจัดตั้งโรงงานในพื้นที่ต่างจังหวัดต้องยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัด

อย่างไรก็ตามทั้งสองกรณีมีความสะดวกสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเดินทางไปเอง ทำได้ด้วยขั้นตอนยื่นแบบออนไลน์นั้นเอง

           2.เริ่มต้นดำเนินการยื่นขออนุญาตจัดตั้งสร้างโรงงาน

               หลังจากที่ผ่านขั้นตอนแรกเมื่อได้รับการตรวจสอบสถานที่แล้ว เจ้าหน้าไม่พบปัญหาใด ๆ จะเข้าสู่ขั้นตอนการยื่นเรื่องขออนุญาตจัดตั้งโรงงานเพื่อผลิตอาหาร พร้อมกับนำเอกสารต่าง ๆ ทั้งหมดไปยื่นคำขอ ซึ่งจะเป็นสถานที่เดียวกับการยื่นเรื่องตรวจประเมินสถานการผลิต มีค่าธรรมเนียม 2,000 บาท ทั้งนี้เจ้าของต้องจดไว้เลยสำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมไป ได้แก่

  • คำขออนุญาตจัดตั้งโรงงานตามแบบ อ1. จำนวน 1 ฉบับ
  • สำเนาใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 1 ฉบับ
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาต จำนวน 1 ฉบับ
  • แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงงานและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในบริการใกล้เคียง
  • แบบแปลนแผนผังที่ถูกต้องตามมาตราส่วน จำนวน 1 ชุด (ถ้ามีการจัดตั้งโรงงานที่ต่างจังหวัดให้ใช้จำนวน 2 ชุด)
  • แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างบริเวณที่ดินโรงงาน รวมทั้งระบบกำจัดน้ำเสียและบ่อบาดาล (ถ้ามี)

นอกจากนี้ยังมีในกรณีที่เป็นนิติบุคคล โดยจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ จะต้องเตรียมสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลจำนวน 1 ฉบับ หรือ สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นจำนวน 1 ฉบับ และสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกมายื่นคำขอขออนุญาตสามารถทำหนังสือมอบอำนาจได้ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินการแทนนั่นเอง

           3.เจ้าของจะได้รับใบอนุญาตในการผลิต

จากทั้ง 2 ขั้นตอนแรก หากผ่านการตรวจสอบแล้วเจ้าของจะสามารถเริ่มทำกิจการได้ จากนั้นจะได้รับหนังสือจะมีชำระค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 3,000 บาท ไปจนถึง 10,000 บาทหรือขึ้นอยู่กับแรงม้าของเครื่องจักรหรือจำนวนแรงงานคนพร้อมกับได้รับใบอนุญาตและเอกสารจะมีอายุการสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ 3 โดยนับตั้งแต่ได้รับใบอนุญาต แน่นอนว่าเมื่อได้รับอนุญาติเอกสารชิ้นนี้มีความสำคัญมากควรวางในจุดที่ผู้คนสามารถเห็นได้ เพื่อความเชื่อมั่นใจสถานประกบการ

           4.รับเลขสารบบอาหารเพื่อดำเนินการผลิตอาหาร

               ในส่วนของตัวโรงงานเมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว ยังเหลืออีกหนึ่งขั้นตอนคือการยื่นขออนุญาต เพื่อให้ได้รับเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ โดยจะเป็นเลข 13 หลักหรือที่เราคุ้นตากันที่ปรากฏในสัญลักษณ์ อย. ข้างฉลากบรรจุภัณฑ์นั่นเอง ซึ่งรหัสจะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ๆ แบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ

  • อาหารควบคุมเฉพาะ
  • อาหารที่มีการกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน
  • อาหารที่ต้องมีฉลาก
  • อาหารทั่วไป

ซึ่งสำหรับขั้นตอนนี้บอกเลยว่าจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากสักหน่อย เพราะเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ฉะนั้นจึงทำให้เจ้าของกิจการหลายคนเลือกเช่าโรงงาน เพื่อลดขั้นตอนใมนส่วนนี้ไปนั่นเอง

จากขั้นตอนต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องยากเลย เพราะการทำโรงงานขึ้นนั้นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเจ้าของกิจการต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องอาหารความปลอดภัยในการผลิตและวัตถุดิบที่ใส่ลงไปมีผลอย่างมาก จึงทำให้มีการตรวจสอบหลากหลายขั้นตอน

ข้อดีของการเช่าโรงงานผลิตอาหาร

  • ขั้นตอนในการเป็นเจ้าของง่ายมากขึ้น เพราะทางโรงงานที่เปิดให้เช่าเหล่านี้ดำเนินการไว้ให้เรียบร้อยแล้ว
  • เมื่อเช่าโรงงานให้คุณมั่นใจได้เลย เพราะได้ผ่านมาตรฐานการผลิตมาแล้ว
  • ลดต้นทุนได้มากทีเดียว คุณไม่จำเป็นต้องเสียเงินสร้างโรงงาน ที่สำคัญสามารถดำเนินการผลิตได้ทันที
  • มีทำเลให้เลือกตามความต้องการและเหมาะสม

จากการนำเสนอจะเห็นได้ว่าการเลือกเช่าโรงงานดูจะมีความสะดวกสบายมากที่สุด เพราะคุณไม่จำเป็นต้องดำเนินการเองตั้งแต่ต้นให้ยุ่งยาก ที่สำคัญเอาเวลาในส่วนนั้นไปพัฒนากิจการจะดีมากกว่า

บริษัท สตีล เฟรม บิลดิ้ง จำกัด

รับสร้างโกดังโรงงาน อาคารเหล็กสำเร็จรูป เราคือผู้เชี่ยวชาญโครงสร้างเหล็กระบบ PEB ( Pre -Engineered Building) ให้บริการในรูปแบบงาน Turnkey บริการครบวงจรตั้งแต่ ออกแบบ ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ตั้งแต่งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรมรวมถึงงานระบบ ควบคุมงานก่อสร้างตั้งแต่งานฐานราก งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม รวมถึงงานระบบMEP ครบจบที่เดียว

ระบบ PEB ออกแบบให้เพิ่มพื้นที่ใช้สอย และช่วยลดระยะเวลาก่อสร้างได้

นัดสำรวจพื้นที่ วางเลย์เอาท์ ทำแบบร่าง จัดทำงบประมาณ ขอข้อมูลเพิ่ม ติดต่อบริษัท สตีล เฟรม บิลดิ้ง จำกัด

โทร. 098-267-6334

เวปไซต์ www.steelframebuilt.com

อีเมลล์ sale@steelframebuilt.com