Monthly Archives: July 2018

Column Calculation Sheet (LRFD)

สวัสดีทุกท่านครับ วันนี้อยากจะมาแชร์ Calculation Sheet สำหรับเสารับแรงอัดอย่างเดียวที่เป็นหน้าตัดรูปตัว I นะครับ . ซึ่งการใช้งานก็ง่ายมากครับ สามารถอ่านได้จากคู่มือด้านในเลย ท่านใดที่สนใจจะรับ Calculation sheet ตัวนี้รบกวนเข้ามากรอกรายละเอียดตามลิงค์นี้ (https://goo.gl/forms/6hek9IW39MWOS0Xi1) นิดนึงนะครับ แล้วทางทีมงานจะส่ง email กลับไปให้ทุกท่านที่กรอกรายละเอียด . สำหรับท่านใดที่เคยกรอกแล้ว ไม่จำเป็นต้องกรอกซ้ำนะครับ ทางทีมงานจะส่งไปให้เช่นเดียวกัน แหล่งที่มา : AirPEB-iFactory

วิธีการออกแบบเสา Cold-Formed Section (CFS)

วิธีการออกแบบเสา Cold-Formed Section (CFS)ที่มีการยึดรั้งแบบ Intermediate Elastic Torsional Restraint . สำหรับการใช้ Cold-Formed Steel มาทำโครงสร้างโรงงานที่มีหน้าตาเป็นแบบโครงข้อแข็ง (Haunched Portal Frame) เริ่มจะได้รับความนิยมมากขึ้นครับ วันนี้เลยอยากจะนำเสนอวิธีการออกแบบซักหน่อยครับ . แต่ด้วยในปัจจุบันการทำโครงสร้างที่ใช้ Cold-Formed Steel ยังค่อนข้างใหม่ ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้งาน แนวทางการออกแบบ หรือข้อแนะนำที่มียังน้อยอยู่ ทำให้การกำหนดค่า Effective length ของเสาสามารถทำได้ยาก เนื่องจากการทดสอบใน Journal นี้ เป็นโครงข้อแข็งที่มีการยึดรั้งเพื่อป้องกันการบิดระหว่างตัวเสาและจันทัน (ที่เรียกว่า Knee brace : ช่วยในการถ่าย Moment จากจันทันไปสู่เสา หน้าตาจะเป็นตามรูปที่ 1 ครับ ซึ่งจะทำให้เกิด Intermediate elastic torsional restraint กับเสาที่ไม่มีการทำค้ำยัน) ทำให้แทบจะไม่สามารถหาค่า Effective Length ของเสาได้เลย . […]

การออกแบบการเชื่อมเหล็ก และมาตรฐานการออกแบบ ตามมาตรฐาน ASD vs. LRFD

การออกแบบการเชื่อมเหล็ก และมาตรฐานการออกแบบ ตามมาตรฐาน ASD vs. LRFD สำหรับวิศวกรโยธาแล้ว สิ่งสำคัญในการออกแบบ คือ การพิจารณากำลังของการต่อโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น งานเชื่อม หรือ งานขันด้วยน๊อตสกรู แต่ก่อนจะไปถึงการพิจารณา “กำลัง” หรือ capacity หรือ resistance ซึ่ง นำไปพิจารณาเทียบกับ load ซึ่งหาก resistance มากกว่า load ที่เราคาดการณ์ไว้ มันก็ไม่วิบัติ อันนี้ถูกใช่ไหมครับ ปัญหาคือ เรามีรูปแบบ ของการพิจารณา load vs. resistance อยู่สองรูปแบบ ที่นำมาซึ่งความสับสนเสมอ รูปแบบแรก เป็นรูปแบบ โบร่ำโบราณ ทาง วิศวกรโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานโครงสร้างเหล็ก เราเรียกว่า allowable stress design หรือ ASD (ทางคอนกรีต เขาเรียกว่า working stress […]

Warping of steel beam

ย้อนกลับไปในสมัยปริญญาตรี เราเรียน – วิธีการออกแบบในแง่ของ philosophy ของการคำนวณด้วย วิธี ASD และ LRFD – การออกแบบคาน (กรณีที่มีการยึดรั้งทางด้านข้างอย่างสมบูรณ์ เช่นการเอาพื้นมารั้งไม่ให้คานบิด) รับแรงดัด และรับแรงเฉือน รวมไปจนถึงการออกแบบคานคอมโพสิท ที่มีวัสดุอื่นมาประกอบด้วย (ใช้เยอะนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนเอาพื้นมายึดติดกับคาน) – การออกแบบเสา ทั้งพฤติกรรม elastic buckling และ inelastic buckling – การออกแบบการต่อโครงสร้าง (พื้นฐาน) ทั้งข้อต่อรับแรงเฉือน รับแรงดึง และ รับโมเมนต์ – ฯลฯ แต่ในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี เขาลงลึกกันเพิ่มเติมไปอีกนะครับ อย่างเช่นการออกแบบคาน จะมีการพิจารณาในกรณีที่ การยึดรั้งทางด้านข้างมีไม่เพียงพอ เช่น การเอาคานตัวริม มารับน้ำหนักจากบันไดเหล็ก (นึกภาพว่าคานมารับ point load จาก คานรับบันได หรือ อาจรับ tension member ที่ไปรับ […]