Bolting and Welding
จากมาตรฐาน AISC360 Chapter J: Design of connections
ได้มีการกำหนดข้อจำกัดของการใช้ bolt ร่วมกับ weld ใน ข้อกำหนดทั่วไป หัวข้อที่ 8 (General provision) ว่า
เขาไม่ให้คำนวณกำลังรับแรงของ bolt และ weld ใน connection เดียวกัน ว่ารับแรงร่วมกันนะครับ เช่น ลองนึกถึงข้อต่อที่เป็นหูช้างแล้วมี bolt 6 ตัว ที่เรามีกาารเชื่อมขอบของหูช้างเข้ากับเสา … ซึ่งเราอาจคำนวณ กำลังรับน้ำหนักของ bolt ได้ 50 ตัน และ ของ weld ได้ 60 ตัน … แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่า ข้อต่อหูช้างของเรานี้ มีกำลังรับน้ำหนัก 50 + 60 = 110 ตันนะครับ
ในข้อกำหนดดังกล่าวบอกว่า การใช้ bolt กับ weld ร่วมกัน นั้น ต้องใช้รูเจาะขนาดมาตรฐาน standard hole (เส้นผ่าศูนย์กลางของ bolt + ครึ่งหุน หรือ 1/16 นิ้ว) กับ bolt หรือไม่ก็ เป็นรูเจาะร่องสั้น (short slotted hole) ที่แนวแรงตั้งฉากกับแนวยาวของร่องนะครับ … ในกรณีนี้ พอจะพิจารณา กำลังรับแรงรวม ไม่เกิน กำลังรับแรงของ weld + 50% กำลังรับแรงของ bolt หรือ = 60 + 0.5(50) = 85 ตัน ครับ … ทั้งนี้ ตามมาตรฐาน AISC LRFD 3rd Edition Section J8 ได้ระบุว่า “In slip-critical connections, high-strength bolts are permitted to be considered as shearing the load with the welds. These calculations shall be made at factored load.” หรือ อาจกล่าวได้ง่าย ๆ ว่า การใช้ weld และ bolt ที่ติดตั้งแบบ slip-critical bolt สามารถนำมาพิจารณารับแรงร่วมกันได้นะครับผม
ส่วนในข้อ 10 ได้มีการระบุถึง requirement ที่ควรต้องใช้ bolt ประเภท pretensioned (TC) bolt นะครับ ว่าควรต้องพิจารณาใช้กับ (1) การต่อทาบเสา (2) ข้อต่อคานต่อเข้ากับเสา และข้อต่อคานกับคานที่ ระบบค้ำยันด้านข้างมีความสูงจากพื้นเกิน 38 เมตร (3) จุดต่อของโครงสร้างที่รับเครนหนักเกินกว่า 5 ตัน แทบจะทุกจุดเลยครับ และ (4) ข้อต่อที่รับเครื่องจักรที่ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงสลับไปมา ครับ
รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ นำมาฝากไว้เป็นข้อมูลครับ วิศวกรหลายรายเคยพลาด มีให้เห็นมาแล้ว ขอบพระคุณที่ติดตามครับผม
แหล่งที่มา : AirPEB-iFactory