เปิดโรงงานอาหารเสริมต้องทำอะไรบ้าง
อาหารเสริมถือว่าได้รับความนิยมจากคนสมัยนี้อย่างมาก เพราะในบางครั้งการทานอาหารก็ไม่ได้สารอาหารที่ครบถ้วน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุเป็นวัยที่ร่างกายเริ่มเสื่อม จึงทำให้ลูก ๆ หลาน ๆ มองหาตัวช่วยที่จะมาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและในวัยหนุ่มสาวเองก็สามารถทานได้เช่นกัน เมื่อเป็นที่ต้องการมากขึ้นจึงทำให้เกิดธุรกิจอาหารเสริม เจ้าของแบรนด์มือใหม่ทั้งหลายมองเห็นโอกาส จึงอยากจะเปิดโรงงานผลิตเพื่อสร้างผลกำไร ฉะนั้นเราไปศึกษาพร้อม ๆ กันว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
เรื่องสำคัญที่ต้องรู้ หากอยากมีโรงงานผลิตอาหารของตัวเอง
เมื่อคุณตัดสินใจแน่วแน่และวางแผนมาเป็นอย่างดีแล้ว เจ้าของธุรกิจต้องรู้ว่าการที่รจะดำเนินการตั้งโรงงานผลิตอาหาร ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ที่ได้กล่าวไว้ว่า ในการทำโรงงานผลิตอาหารจะต้องมีกำลังเครื่องจักรตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือหากจะให้เทียบกับคนเป็นแรงงานที่ 50 คนขึ้นไปและเริ่มขั้นตอนสร้างโรงงานได้ ดังนี้
- ต้องได้รับการประเมิณและตรวจสอบจาก อย.
โดยจะมีการตรวจสอบก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการได้ทำการยื่นเรื่องขอให้มาตรวจประเมิณสถานที่ผลิตและเก็บอาหาร จากนั้นติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อยื่นคำขอ จากนั้นทำการเตรียมเอกสารหลักฐาน เพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณา ณ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แต่หากคุณจะสร้างโรงงานที่ต่างจังหวัด สามารถไปยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัด แต่หากต้องการความรวดเร็วและสะดวกสามารถยื่นคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ต (E-submission) ได้อีกด้วย
รายการเอกสารที่ใช้ยื่นขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร
หลังจากที่คุณได้ผ่านขั้นตอนตรวจประเมินสถานที่เรียบร้อยแล้ว จะเป็นการเตรียมเอกสารสำคัญ เพื่อไปขออนุญาติสร้างโรงงาน ดังนี้
- คำขออนุญาตตั้งโรงงานตามแบบ อ1. จำนวน 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต จำนวน 1 ฉบับ
- สำเนาใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 1 ฉบับ
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล จำนวน 1 ฉบับ (กรณีนิติบุคคล)
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวน 1 ฉบับ (เฉพาะนิติบุคคลที่เป็นบริษัท )
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ดำเนินกิจการไม่ได้มายื่นเอง)
- แบบแปลนแผนผังที่ถูกต้องตามมาตราส่วน จำนวน 1 ชุด (กรณีสถานที่ผลิตอยู่ต่างจังหวัดจะใช้ 2 ชุด)
- แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงงานและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในบริการใกล้เคียง
- แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณที่ดินของโรงงาน รวมทั้งระบบกําจัดน้ำเสียและบ่อบาดาล (ถ้ามี)
เอกสารทั้งหมดนี้ให้นำไปยื่นที่ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและสำหรับกรณีที่มีการยื่นคำขอสร้างโรงงานที่ต่างจังหวัดสำนักงานสาธารณสุขในแต่ละจังหวัด หรือทางออนไลน์ได้เช่นกัน โดยมีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ 2,000 บาท
จากนั้นมีการยื่นเอกสารแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะเริ่มต้นดำเนินตรวจความครบถ้วนของเอกสาร เมื่อเช็คแล้วว่าเอกสารทั้งหมดมีความครบถ้วนทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการออกใบรับคำขอและดำเนินการตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อพิจารณาในการตั้งโรงงาน หากพบว่ามีข้อตกหล่นหรือเอกสารไม่ครบเจ้าของกิจการจะต้องดำเนินการส่งเพิ่มเติมตามเวลาที่กำหนด
รายละเอียดเกี่ยวกับการรับใบอนุญาตการผลิต
หลังจากที่คุณดำเนินขั้นตอนเหล่านั้นครบถ้วนดีแล้ว เมื่อมีการออกใบสั่งชำระค่าธรรมเนียมนั้นแปลว่าคุณผ่านการตรวจสอบทั้งหมดแล้ว โดยมีค่าธรรมเนียมโดยจะคำนวณจากแรงม้าของเครื่องจักรจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเริ่มตั้งแต่ 3,000 / 5,000 / 7,000 / 8,000 / 10,000 บาท จากนั้นจึงจะมอบใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการต่อไป
ขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อขอรับเลขสารบบอาหาร
อย่างไรก็ตามเมื่อดำเนินการในขั้นตอนที่เรากล่าวไปทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว แต่ผู้ประกอบการยังไม่สามารถดําเนินการผลิตเพื่อจําหน่ายได้ทันที เนื่องจากยังขาดเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องทำเรื่องขออนุญาตก่อน โดยเลขสารบบจะมีเลข 13 หลักในกรอบเครื่องหมาย อย. ซึ่งมักติดอยู่ข้างฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งเลขเหล่านี้จะสามารถบอกรายละเอียดของสถานประกอบการหรือโรงงานผลิตได้ รวม-ปถึงผลิตภัณฑ์ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบย้อนกลับกรณีเกิดปัญหา
การแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์อาหาร
เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะต้องดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของตน ว่าจัดอยู่ในประเภทอาหารกลุ่มใด ซึ่งจะมีแจ้งไว้ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 แบ่งอาหารเป็น 4 กลุ่ม โดยจะแบ่งระดับความเสี่ยงที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ได้แก่
1.อาหารควบคุมเฉพาะ อาทิ นมทารก อาหารเสริม ยาลดความอ้วน เป็นต้น
2.อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน อาทิ กาแฟ ครีม ช็อกโกแลต ชาสมุนไพร ซอสบางชนิด เป็นต้น
3.อาหารที่ต้องมีฉลาก ขนมปัง วัตถุแต่งกลิ่นรส วุ้น ขนมเยลลี่ หมากฝรั่งลูกอม เป็นต้น
4.อาหารทั่วไป อาทิ เครื่องปรุงรส น้ำตาล เครื่องเทศ เป็นต้น
จากข้อมูลข้างจ้นหากผู้ประกอบการผลิตอาหารที่อยู่ใน 3 กลุ่มแรก จะต้องทำการยื่นขออนุญาตเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ อย่างอาหารควบคุมเฉพาะจะต้องทำการยื่นแบบ อ.17 หากเป็นอาหารอยู่ในประเภทที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานยื่นแบบ สบ.3 หรือ สบ.5และอาหารที่ต้องมีฉลากยื่นแบบ สบ.3 หรือ สบ.5) และลำดับสุดท้ายหากเป็นสินค้าประเภทการผลิตอาหารทั่วไป สามารถดำเนินการผลิตได้ทันที ไม่จำเป็นต้องยื่นขออนุญาตเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์
บริษัท สตีล เฟรม บิลดิ้ง จำกัด
รับสร้างโกดังโรงงาน อาคารเหล็กสำเร็จรูป เราคือผู้เชี่ยวชาญโครงสร้างเหล็กระบบ PEB ( Pre -Engineered Building) ให้บริการในรูปแบบงาน Turnkey บริการครบวงจรตั้งแต่ ออกแบบ ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ตั้งแต่งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรมรวมถึงงานระบบ ควบคุมงานก่อสร้างตั้งแต่งานฐานราก งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม รวมถึงงานระบบMEP ครบจบที่เดียว
ระบบ PEB ออกแบบให้เพิ่มพื้นที่ใช้สอย และช่วยลดระยะเวลาก่อสร้างได้
นัดสำรวจพื้นที่ วางเลย์เอาท์ ทำแบบร่าง จัดทำงบประมาณ ขอข้อมูลเพิ่ม ติดต่อบริษัท สตีล เฟรม บิลดิ้ง จำกัด
โทร. 098-267-6334
เวปไซต์ www.steelframebuilt.com
อีเมลล์ sale@steelframebuilt.com