ประเภทของโรงงานมีกี่แบบ เลือกที่ใช่ ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ
จะมีโรงงานทั้งที่ แต่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับโรงงาน เห็นทีว่าก็คงจะไม่ได้นะคะ เพราะนอกจากกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินงานประกอบกิจการโรงงานแล้ว เราก็ต้องรู้เกี่ยวกับประเภทของโรงงานด้วยว่ามีกี่ประเภท และแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่ว่าเราจะได้เลือกได้ถูกว่า ธุรกิจของเรานั้นจะเข้าข่ายโรงงานประเภทใดได้บ้าง การที่เราสามารถทราบประเภทได้ ก็จะนำไปสู่การยื่นขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง
นิยามโรงงานตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2562 โรงงาน คือ อาคาร สถานที่หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 50 แรงม้า หรือมีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คนขึ้นไป เพื่อผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุงแปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายใด ๆ
ประเภทของโรงงาน
กฎหมายโรงงานกำหนดแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการควบคุมการป้องกันเหตุเดือดร้อน รำคาญการป้องกันความเสียหาย และการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมี ต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้
- โรงงานจำพวกที่ 1 : จะมีรูปแบบของโรงงานเฉพาะ เช่น โรงงานที่ต้องฟักไข่โดยตู้อบ โรงงานทำน้ำตาลจากมะพร้าว โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนังทุกประเภท ที่สามารถดำเนินงานประกอบกิจการโรงงานได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องอนุญาต เพียงแต่แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนการดำเนินงาน และต้องต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
- โรงงานจำพวกที่ 2 : โรงงานที่มีขนาดของเครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้า แต่ต้องไม่เกิน 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คน แต่ไม่เกิน 75 คนเช่นกัน โรงงานประเภทนี้แม้จะไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่และจะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมรายปีเพื่อประกอบกิจการโรงงาน
- โรงงานจำพวกที่ 3 : โรงงานที่มีขนาดของเครื่องจักรมากกว่า 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 75 คน โรงงานประเภทนี้จะต้องมีใบ ร.ง.4 ตามกฎกระทรวง เนื่องจากเป็นโรงงานที่ขนาดใหญ่ จะพบได้ในโรงงานเกี่ยวกับน้ำมันจากพืชและสัตว์ โรงงานย้อมฟอกสี โรงงานเกี่ยวกับไม้ ฯลฯ อีกทั้ง โรงงานประเภทนี้จะต้อง สียค่าธรรมเนียมรายปี และเสียค่าใบอนุญาตประกอบกิจการ
*หมายเหตุ :
- โรงงานทั้งสามประเภท ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบริเวณบ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัยอาคารชุดพักอาศัยและบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย
- โรงงานจำพวกที่ 1,2 ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานภายในระยะ 50 เมตร จากเขตติดต่อโรงเรียน สถาบันการศึกษา วัด ศาสนสถาน โรงพยาบาล โบราณสถาน สถานที่ทำงานของหน่วยงานของรัฐ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
- แวดล้อมตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ต้องตั้งอยู่ในทำเล และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการตามประเภทหรือชนิดของโรงงานโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย
จะเกิดอะไรขึ้น หากฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมายโรงงาน
แน่นอนว่า กฎโรงงานมีขึ้นเพื่อควบคุมการดำเนินงานประกอบกิจการโรงงาน หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องโทษตามกฎหมาย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- กรณีโรงงานจำพวกที่ 2 หากผู้ประกอบกิจการโรงงานดำเนินการโดยไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีโรงงานจำพวกที่ 3 หากผู้ใดประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต หรือตั้งโรงงาน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ การประกอบกิจการโรงงานในระหว่างที่มีคำสั่งหยุดประกอบกิจการหรือภายหลังที่มีคำสั่งประกอบโรงงาน จะต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท และยังต้องถูกปรับรายวันอีก วันละ 5,000 บาท จนกว่าจะหยุดประกอบกิจการ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งให้แก้ไขปรับปรุง หรือสั่งให้ระงับการกระทำ หรือให้กระทำใด ๆ ต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับ และต้องถูกปรับรายวัน วันละไม่เกิน 5,000 บาท
บริษัท สตีล เฟรม บิลดิ้ง จำกัด
รับสร้างโกดังโรงงาน อาคารเหล็กสำเร็จรูป เราคือผู้เชี่ยวชาญโครงสร้างเหล็กระบบ PEB ( Pre -Engineered Building) ให้บริการในรูปแบบงาน Turnkey บริการครบวงจรตั้งแต่ ออกแบบ ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ตั้งแต่งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรมรวมถึงงานระบบ ควบคุมงานก่อสร้างตั้งแต่งานฐานราก งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม รวมถึงงานระบบMEP ครบจบที่เดียว
ระบบ PEB ออกแบบให้เพิ่มพื้นที่ใช้สอย และช่วยลดระยะเวลาก่อสร้างได้
นัดสำรวจพื้นที่ วางเลย์เอาท์ ทำแบบร่าง จัดทำงบประมาณ ขอข้อมูลเพิ่ม ติดต่อบริษัท สตีล เฟรม บิลดิ้ง จำกัด
โทร. 098-267-6334
เวปไซต์ www.steelframebuilt.com
อีเมลล์ sale@steelframebuilt.com