อุตสาหกรรมสีเขียว หรือที่เรียกว่า Green Industry เป็นแนวคิดการผลิตและการประกอบกิจการที่มุ่งเน้นไปที่การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่ไม่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อุตสาหกรรมสีเขียวจึงเน้นการนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในกระบวนการผลิต การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การประหยัดพลังงาน และการใช้ทรัพยากรที่สามารถหมุนเวียนได้ ความสำคัญของ Green Industry ปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมสีเขียวมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นปัจจัยหลักในการสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นเครื่องมือในการลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แนวคิดนี้ช่วยให้ภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และยังสามารถช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเพิ่มความน่าเชื่อถือในสายตาของผู้บริโภค นอกจากนี้ การนำแนวคิด Green Industry มาใช้ยังสามารถลดต้นทุนการผลิตในระยะยาวได้ เนื่องจากการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรที่สูงขึ้นจากการลดต้นทุนเหล่านี้ หลักการสำคัญของ Green Industry อุตสาหกรรมสีเขียวมีหลักการที่สำคัญอยู่หลายประการ ซึ่งประกอบไปด้วย: ประโยชน์ของ Green Industry การนำนโยบายและหลักการของ Green Industry มาใช้ในภาคธุรกิจหรือโรงงานอุตสาหกรรมสามารถนำไปสู่ผลประโยชน์ได้หลายด้าน ไม่เพียงแต่ในแง่ของการดูแลสิ่งแวดล้อม แต่ยังมีผลต่อการพัฒนาองค์กรและผลประกอบการในระยะยาวอีกด้วย ประโยชน์สำคัญของ Green Industry ประกอบไปด้วย: 1. การลดต้นทุนการผลิต การนำแนวคิด Green Industry มาใช้สามารถช่วยให้ธุรกิจลดต้นทุนการผลิตได้ โดยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ การใช้พลังงานทดแทนหรือการลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้ 2. […]
Tag Archives: มาตรฐานโรงงาน
อยากให้โรงงานเป็นที่ยอมรับ ผู้ประกอบการต้องรู้ มาตรฐานการโรงงานมีอะไรบ้าง ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจและมีโรงงานเป็นของตัวเองได้ ซึ่งขั้นตอนการสร้างโรงงานนั้นมีความละเอียดซับซ้อน เพื่อให้มีความปลอดภัยกับผู้บริโภคมากที่สุด ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่สินค้าสักตัวจะออกมาสู่ตลาด ฉะนั้นเหล่าผู้ประกอบการทั้งหลายจะต้องทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับมาตรฐานโรงงาน เพื่อให้สินค้าเป็นที่ยอมรับและเป็นการการันตีว่ามีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ฉะนั้นหากใครที่กำลังคิดจะทำโรงงานอยากให้ลองศึกษามาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับโรงงาน ดังต่อไปนี้ จากมาตรฐานต่าง ๆ ที่โรงงานผลิตอาหารควรมีแล้วคงทำให้เหล่าเจ้าของกิจการได้เห็นถึงขั้นตอน ว่าการที่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารแต่ละตัวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งสำคัญนอกจากคุณภาพ ความปลอดภัยแล้ว ต้องคำนึงถึงกลุ่มลูกค้าเฉพาะอย่างมุสลิมที่มีความละเอียดอย่างมากในการบริโภคอาหารแต่ละชนิดเข้าไป ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อย ไม่เพียงโรงงานของคุณจะได้รับมาตรฐานเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความยั่งยืนที่แบรนด์ของคุณจะสามารถยืนหยัดได้อย่างสงางามเพราะไม่บกพร่องในเรื่องนี้ ที่สำคัญมีความหลากหลายทางด้านกลุ่มลูกค้าอีกด้วย บริษัท สตีล เฟรม บิลดิ้ง จำกัด รับสร้างโกดังโรงงาน อาคารเหล็กสำเร็จรูป เราคือผู้เชี่ยวชาญโครงสร้างเหล็กระบบ PEB ( Pre -Engineered Building) ให้บริการในรูปแบบงาน Turnkey บริการครบวงจรตั้งแต่ ออกแบบ ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ตั้งแต่งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรมรวมถึงงานระบบ ควบคุมงานก่อสร้างตั้งแต่งานฐานราก งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม รวมถึงงานระบบMEP ครบจบที่เดียว ระบบ PEB ออกแบบให้เพิ่มพื้นที่ใช้สอย และช่วยลดระยะเวลาก่อสร้างได้ […]
ข้อควรรู้เกี่ยวกับมาตรฐานโรงงานที่ดี ขึ้นชื่อว่าโรงงาน เราไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพของโรงงานได้ แค่เพียงจากสายตาที่มองเห็น ดังนั้นหากจะรู้ว่าโรงงานแต่ละแห่งมีคุณภาพจริงหรือไม่ จึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานโรงงานที่จะเป็นตัวกำหนดคุณภาพเพื่อให้เกิดบรรทัดฐานตามเกณฑ์ที่ทุกโรงงานพึงปฏิบัติตามอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเราอาจจะสงสัยกันว่า แล้วมาตรฐานโรงงานที่ดีเป็นอย่างไร เราจะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ มาตรฐานโรงงานคืออะไร ถ้าพูดถึงมาตรฐานโรงงาน สิ่งแรกที่นึกถึงกันก็ต้อง “ISO” นี่ล่ะค่ะ ซึ่ง ISO ย่อมาจาก International Standardization and Organization เป็นองค์การมาตรฐานสากลหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1946 หรือพ.ศ. 2489 มีสำนักงานอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีวัตถุประสงค์คล้าย ๆ กับองค์การการค้าอื่นๆของโลก คือจัดระเบียบการค้าโลกด้วยการสร้างมาตรฐานขึ้นมา หากใครที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์ก็จะได้รับ ISO ที่ว่านี้ไป ISO 9000 มาจากไหน ช่วงที่ ISO ก่อตั้งขึ้น เป็นช่วงสงครามโลกก็เพิ่งจะจบลงใหม่ๆดังนั้นประเทศต่าง ๆ ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ต่างคนต่างขายของโดยมีระบบมาตรฐานไม่เหมือนกันจนกระทั่งในปี 2521 เยอรมนีเป็นตัวตั้งตัวตีให้ทั่วโลกมีมาตรฐานคุณภาพสินค้าเดียวกันส่วนองค์กรมาตรฐานโลกก็จัดตั้งระบบ ISO/TC176 ขึ้นต่อมาอีก1ปีอังกฤษพัฒนาระบบคุณภาพที่เรียกว่า BS5750 ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ จากนั้นในปี 2530 ISO จึงจัดวางระบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพที่สามารถตรวจสอบได้ผ่านระบบเอกสาร […]