คลังสินค้าคืออะไร สำคัญอย่างไรกับธุรกิจ
ใครที่ทำธุรกิจ เมื่อธุรกิจเติบโตมากขึ้น ก็ถึงเวลาที่ต้องขยับขยายขนาดของธุรกิจ รวมไปถึงระบบการจัดการสินค้า หนึ่งในฟังก์ชั่นที่หลายธุรกิจมีคือ “คลังสินค้า” แต่ในขณะที่ธุรกิจเรายังคงมีขนาดเล็กอยู่ เราอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าคลังสินค้าคืออะไร สำคัญกับธุรกิจของเรามากน้อยแค่ไหน เราจะพาไปเรียนรู้เรื่องนี้กัน
คลังสินค้าคืออะไร
คลังสินค้า (Warehouse) หรือโกดัง คือสถานที่จัดเก็บสินค้าให้เป็นระเบียบ พร้อมที่จะกระจายสินค้าออกไปยังกลุ่มลูกค้า บุคคล หรือองค์กร ซึ่งในคลังสินค้าแต่ละแห่งอาจจะมีฟังก์ชั่นและ Process ที่แตกต่างกันออกไปบางแห่งอาจจะมีการรับสินค้าเข้ามาแล้ว ก็เก็บสินค้าไว้และทำหน้าที่จัดสรรสินค้าก่อนส่งมอบตามคำสั่งซื้อ จึงมีขั้นตอนย่อยประกอบด้วย รับสินค้าเข้า จัดเก็บ จัดสินค้าตามใบสั่งซื้อ บางแห่งอาจจะมีการเพิ่มขั้นตอนไปเป็น ตรวจสอบ หีบห่อ และจัดส่ง ซึ่งในบางคลังสินค้ามีหน้าที่หลักเพื่อรับมาเก็บแล้วกระจายสินค้าต่อไป หรือที่เราเรียกว่าศูนย์กระจายสินค้า
หน้าที่ของคลังสินค้า
หลัก ๆ แล้ว หน้าที่ของคลังสินค้าจะเป็นเรื่องของการอำนวยความสะดวกให้กับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า เพื่อที่จะส่งมอบสินค้าไปยังลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งหน้าที่คลังสินค้ายังมีอีกมากมาย ดังนี้
- การรับสินค้า
เมื่อรับสินค้าเข้ามายังคลังสินค้าแล้ว จะต้องมีการตรวจนับจำนวน และนำไปจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการส่งมอบ ซึ่งเมื่อสินค้าอยู่ในคลังสินค้าก็ถือว่าความรับผิดชอบจะตกเป็นของคลังสินค้าโดยสมบูรณ์ จนกว่าสินค้าจะถูกกระจายออกไป
- การจัดเก็บและควบคุมสินค้าในคลังสินค้า
เนื่องจากคลังสินค้ามีไว้จัดเก็บสินค้า หน้าที่หลักจึงต้องจัดเก็บสินค้าด้วยระบบการจัดการและบริหารจะด้วยเครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ระบบภายในทำงานได้โดยสะดวก
- การคัดแยกสินค้า
การคัดแยกสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ พร้อมการแพคสินค้า ติดป้าย เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและจัดเก็บตามที่ลูกค้าต้องการ
- การควบคุมด้านเอกสาร
การทำรายงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การรับ การเบิกจ่ายสินค้าเข้า-ออก เพื่อควบคุมบัญชีต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าในคลังสินค้า
- รับผิดชอบความเสียหายและสูญหายของสินค้า
แน่นอนว่าเมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อย่างสินค้าเกิดเสียหายหรือหล่นหายไป ทางคลังสินค้าจะต้องมีมาตรการในการชดเชยเพื่อตีมูลค่าความเสียหาย อาจจะกำหนดวงเงินต่อตารางการเช่าพื้นที่ เพื่อคำนวณควมเสียหาย
- ส่งมอบและกระจายสินค้า
ก่อนที่จะส่งมอบและกระจายสินค้า ทางคลังสินค้าจะต้องมีการตรวจสอบ คัดเลือกสินค้าที่ได้คุณภาพก่อนเสมอ และดำเนินการระบบการจัดส่งให้กับลูกค้าต่อไป
คลังสินค้าจำเป็นต่อธุรกิจมากน้อยแค่ไหน
สำหรับความสำคัญของการสร้างคลังสินค้า มีความสำคัญและจำเป็นต่อธุรกิจมาก ๆ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากธุรกิจจะต้องมีการสต๊อกของ เพื่อใช้ในการผลิต อีกทั้งยังต้องสต๊อกสินค้าสำเร็จรูปเก็บไว้ด้วย ยิ่งธุรกิจไหนที่มีสินค้าเหล่านี้จำนวนมาก แต่ถ้าขาดระบบจัดการที่ดี ย่อมเป็นไปได้ที่ยากที่จะส่งมอบและกระจายสินค้าได้อย่างถูกต้อง อีกทั้ง การสต๊อกสินค้าจำนวนมากเป็นปัญหาทั้งสถานที่เก็บและยังเป็นปัญหาที่ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมากอีกด้วย หากเราไม่มีระบบการจัดการคลังสินค้าที่ดี เราก็จะสูญเสียเงินไปจำนวนมากเช่นกัน
ประโยชน์ของคลังสินค้า
เมื่อเราทราบแล้วว่าคลังสินค้าคืออะไร แล้วจำเป็นหรือสำคัญต่อธุรกิจไหม เราจะมาดูประโยชน์ที่เราได้จากคลังสินค้ากันบ้างค่ะ แน่นอนว่า ประโยชน์มากมายดังนี้
- ช่วยลดต้นทุนของสินค้าได้มากขึ้น
- สามารถผลิตได้มากเกินกว่าความต้องการในแต่ละซีซั่น เนื่องจากมีการต๊อกของไว้อย่างเพียงพอ
- ช่วยส่งมอบสินค้าได้ทันเวลาที่ปลายทางต้องการ
- ช่วยให้ราคาสินค้ามีเสถียรภาพที่ดี
- ช่วยป้องกันสินค้าขาดมือ ไม่เพียงต่อต่อความต้องการของลูกค้าและบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เมื่อเราได้เรียนรู้ถึงคลังสินค้ากันแล้ว หากใครที่มีธุรกิจที่กำลังจะต้องขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น อย่าลืมมองหาคลังสินค้าดี ๆ ไว้จัดการระบบภายในกันด้วยนะคะ
จะสร้างโกดังต้องรู้ กฎหมายควบคุมอาคาร รู้ไว้ไม่มีพลาด
เพราะทุก ๆ ที่ล้วนมีกฎหมายและกฎระเบียบควบคุม ไม่เว้นแม้แต่การดำเนินการสร้างสิ่งปลูกสร้าง จะบ้านเรือน คอนโดฯ อาคารพาณิชย์ หรือแม้แต่โกดัง แน่นอนว่าผู้ประกอบการจะไม่รู้ไม่ได้นะคะ เพราะหากสร้างขึ้นมาแล้วผิดจากที่กฎหมายกำหนด อาจจะเลวร้ายถึงขั้นต้องรื้อถอนเพื่อสร้างใหม่กันเลย ดังนั้น หากใครคิดจะทำโกดัง ต้องมาศึกษากฎหมายสร้างโกดัง หรือที่เราเรียกเป็นทางการว่า กฎหมายควบคุมอาคาร
กฎหมายสร้างโกดังเกี่ยวกับแนวอาคารและระยะต่าง ๆ
หากใครคิดจะสร้างโกดัง อย่าลืม!! ที่จะศึกษากฎหมายเฉพาะทางเกี่ยวกับการสร้างโกดังเอาไว้บ้างนะคะ ซึ่งกฎหมายสร้างโกดังเป็นส่วนหนึ่งในกฎหมายควบคุมอาคาร เราได้รวบรวมนำมาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโกดังเอาไว้แล้ว มีรายละเอียดดังนี้
อาคารโกดังที่มีความสูงเกิน 2 ชั้น หรือเกิน 8 เมตร จะกำหนดระยะร่นตามเงื่อนไขต่าง ๆ ได้แก่
- ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้าง
– น้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ อย่างน้อย 6 เมตร
– ตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย
1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ
– เกิน 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร
- คลังสินค้าหรืออาคารเก็บสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่
– 100 ตรม. แต่ไม่เกิน 500 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้น ไม่น้อยกว่า 6 เมตร
อย่างน้อย 2 ด้าน และยาวรวมกันไม่น้อยกว่าครั้งหนึ่งของเส้นรอบรูปอาคารส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร ถ้าที่ว่างห่างเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารน้อยกว่า 5 เมตร ต้องสร้างผนังอาคารเป็นผนังกันไฟ
– เกิน 500 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 10 เมตร อย่างน้อย
2 ด้าน และยาวรวมกันไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเส้นรอบรูปอาคาร ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 5 เมตร
– 100 ตรม. แต่ไม่เกิน 500 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้น ไม่น้อยกว่า 3 เมตร จำนวน 2 ด้าน
– 500 ตรม. แต่ไม่เกิน 1,000 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้น ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ทุกด้าน
– 1,000 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน
ขั้นตอนการยื่นขออนุญาตเพื่อก่อสร้างโกดัง
ในการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย หากแบบแปลนและเอกสารของผู้ยื่นขออนุญาตครบถ้วนและถูกต้อง เจ้าพนักงานต้องตรวจพอจารณาและออกใบอนุญาต หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต พร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ยื่นขออนุญาตทราบภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
- ผู้ประกอบการจัดเตรียมแบบและเอกสาร
- เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตเอกสาร แบบแปลน รายการคำนวณ
- เจ้าพนักงานพิจารณาออกใบอนุญาต
ในกรณีที่เจ้าพนักงานมีความจำเป็นไม่สามารถออกใบอนุญาต หรือยังไม่มีคำสั่งอนุญาตภายใน 45 วัน เจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ๆ ละไม่เกิน 45 วัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ยื่นขออนุญาตทราบก่อนที่ระยะเวลาในการขอขยายสิ้นสุดลง
เอกสารประกอบการขออนุญาต
- แบบฟอร์มคำขออนุญาต
- แบบแปลน แผนผัง บริเวณ และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
- รายการคำนวณ 1 ชุด (กรณีที่เป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่)
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพของสถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบ (กรณีที่เป็นอาคารควบคุมตามกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพ)
การศึกษาและทำความเข้าใจในข้อกฎหมายการสร้างโกดังจะช่วยให้ผู้ประกอบการไม่พลาด และไม่ไปละเมิดข้อกฎหมาย เพื่อลดการสูญเสียทรัพย์โดยใช่เหตุ ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดจะดีที่สุด
บริษัท สตีล เฟรม บิลดิ้ง จำกัด
รับสร้างโกดังโรงงาน อาคารเหล็กสำเร็จรูป เราคือผู้เชี่ยวชาญโครงสร้างเหล็กระบบ PEB ( Pre -Engineered Building) ให้บริการในรูปแบบงาน Turnkey บริการครบวงจรตั้งแต่ ออกแบบ ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ตั้งแต่งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรมรวมถึงงานระบบ ควบคุมงานก่อสร้างตั้งแต่งานฐานราก งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม รวมถึงงานระบบMEP ครบจบที่เดียว
ระบบ PEB ออกแบบให้เพิ่มพื้นที่ใช้สอย และช่วยลดระยะเวลาก่อสร้างได้
นัดสำรวจพื้นที่ วางเลย์เอาท์ ทำแบบร่าง จัดทำงบประมาณ ขอข้อมูลเพิ่ม ติดต่อบริษัท สตีล เฟรม บิลดิ้ง จำกัด
โทร. 098-267-6334
เวปไซต์ www.steelframebuilt.com
อีเมลล์ sale@steelframebuilt.com